ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กสอ. ดัน DIP SMEs NETWORK เจาะ CLMV คาดยอดขายโตกว่า 100 ล้านบาท • กสอ. ชี้ 3 อุตฯ มาแรงใน CLMV อัด 20 กว่าโครงการหนุน SMEs ส่งออกอินเตอร์ฯ


กรุงเทพฯ 7 กันยายน 2559   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ผลักดันผู้ประกอบการเพื่อลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม โดย  3 อุตสาหกรรมที่เติบโตในกลุ่ม CLMV อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร ทั้งนี้ กสอ. ได้จัดกิจกรรม Business Matching Forum 2559 ระหว่างวันที่          7 – 8 กันยายน 2559 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย หรือ DIP SMEs Network  ส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อต่อยอดและเจรจาทางธุรกิจกับผู้ประกอบการในกลุ่ม CLMV โดยคาดว่าผลจากการเจรจาจะสร้างมูลค่าได้กว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้ยังเตรียมอัดงบผ่าน 20 กว่าโครงการดันผู้ประกอบการไทยสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศ 



นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า  สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม มีประชากรรวมกันกว่า 166 ล้านคน นับเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายแรกที่มีการส่งเสริมให้มีการส่งออกและลงทุน เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง และมีนโยบายเปิดกว้างรับการลงทุนจากต่างประเทศ การค้าขายและการส่งออกในกลุ่มประเทศ CLMV มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศเมียนมาร์ และประเทศกัมพูชา ทั้งนี้การส่งออกโดยรวมมีมูลค่าในปี 2558 รวมกว่า 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 752,178 ล้านบาท (ที่มา สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV, กรมศุลกากร) 

นางอนงค์ กล่าวต่อว่า การเติบโตดังกล่าวเกิดจากปัจจัยสนับสนุน อาทิ สินค้าของไทยมีภาพลักษณ์และศักยภาพที่ดีต่อผู้บริโภค การใช้นวัตกรรมอันทันสมัยในการพัฒนาสินค้า  รวมไปถึงสินค้าที่ส่งออกเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการของไทยมีความถนัดและเชี่ยวชาญ ประกอบกับทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มประเทศ CLMV ทำให้ได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่งอื่นที่อยู่ไกลกว่า สำหรับภาคธุรกิจที่เข้าไปลงทุนและส่งออกตามแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไป โดยการลงทุนในประเทศกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นการลงทุนและส่งออกในด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ประเทศลาวเป็นการผลิตในหมวดพลังงาน เมียนมาร์เป็นการลงทุนและส่งออกในด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องมือการเกษตร และเวียดนามจะเป็นการลงทุนและส่งออกในผลิตภัณฑ์อาหารและชิ้นส่วนยานยนต์ โดยอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง  อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร 

ทั้งนี้ กสอ. ได้กำหนดจัดกิจกรรมการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อต่อยอดธุรกิจ หรือ Business Matching Forum ในปี 2559 โดยร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย หรือ DIP SMEs Network จัดกิจกรรมเจรจาการค้ากับทางเครือข่ายและกลุ่ม CLMV โดยคาดว่าในเวลา 2 วัน คือ 7 – 8 กันยายนนี้ จะสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 100 ล้านบาท ในกลุ่มประเทศ CLMV  อย่างไรก็ตามภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนของ กสอ.ยังมีโครงการต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยเพื่อการส่งออกในตลาดต่างประเทศ กว่า 20 โครงการ อาทิ โครงการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสาขาเป้าหมายเพื่อให้พร้อมรับการเปิดเสรี ฯลฯ  ทั้งนี้ในการส่งเสริมผ่านโครงการต่างๆ ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการแก้ไขข้อจำกัดทางธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยังเป็นการเปิดตลาดใหม่เพื่อสร้างโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในเวทีการค้าระหว่างประเทศ นางอนงค์กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน นายพีรพงษ์ อริยะแจ่มเลิศ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไท้เพ้งวาล์ว แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ประกอบการในเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ตลาดการค้ากลุ่ม CLMV มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา โดยบริษัทของตนได้เริ่มขยายเข้าไปในกลุ่มประเทศดังกล่าวมากว่า 20 ปีแล้ว และมองว่าตลาดเหล่านี้ถือเป็นตลาดเดียวกันกับประเทศไทย ซึ่งแนวโน้มในอนาคตข้างหน้ามีความเชื่อมั่นว่าตลาดการค้าสินค้าประเภทก๊อกและวาล์วน้ำจะมีการขยายตัวที่สูงกว่าในประเทศไทยอย่างแน่นอน ทั้งนี้บริษัทของตนถือเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกไปยังประเทศพม่า โดยการเติบโตที่ต่อเนื่องเป็นผลมาจากการพัฒนานวัตกรรมการผลิตระดับสูง คุณภาพของสินค้า ความทนทาน และการดีไซน์ที่เป็นส่วนผสมของกลยุทธ์  

ในมุมมองของ นางกิติพร ตรงกิจไพศาล กรรมการบริหาร บริษัท สยามโตชู จำกัด ผู้ประกอบการในเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย มีความคิดเห็นว่า การส่งออกสินค้าในกลุ่มประเทศ CLMV มีการเติบโตเรื่อยมา โดยเฉพาะในระยะหลังที่มีการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งจากนโยบายเปิดประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้สินค้าในหลายกลุ่มมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ตนมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงกว่าประเทศอื่นๆเนื่องจากวิทยาการและนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย  โดยปัจจุบันสินค้าของตนซึ่งเป็นเครื่องขัดผิวโลหะเป็นที่ต้องการอย่างมากในภาคการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศเวียดนาม โดยปัจจัยที่ทำให้เป็นผู้นำในด้านการแข่งขันของสินค้าประเภทนี้เนื่องจากการพัฒนานวัตกรรมและการออกแบบที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำแต่คุณภาพสูงจึงทำให้ได้เปรียบกว่าคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02 - 2024521 02-2024489 หรือเข้าไปที่ http://bed.dip.go.th

###


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...