ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กสอ. สนองนโยบายประเทศไทย 4.0 ติดปีก SMEs โชว์ 5 โครงการเร่งด่วนครึ่งปีหลัง พร้อมคาดสิ้นปี 59 GDP-SMEs โต 6%


กรุงเทพฯ 12 กรกฎาคม 2559  - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เผย 5 โครงการเร่งด่วนในการส่งเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ได้แก่ โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอี โครงการสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอีใน 18 กลุ่มจังหวัดและโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์เอสเอ็มอีสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ เพื่อสอดรับตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรม SMEs และผลักดันให้การส่งเสริมSMEs เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการให้ได้กว่า 7,000 กิจการ / 3,000 ราย / 170 ผลิตภัณฑ์ ทั่วประเทศภายใต้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 671 ล้านบาท และคาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ SMEs (GDP-SME) สิ้นปี 2559 จะขยายตัวสูงถึง 6%

นายประสงค์ นิลบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2.74 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจทั้งประเทศและมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ SMEs กว่า 5.5 ล้านล้านบาท โดยในปี 2559 กสอ. ได้ดำเนินโครงการเร่งด่วนตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบัน เพื่อรองรับนโยบายตามที่รัฐบาลได้วางไว้ซึ่งมี 5 โครงการเร่งด่วน ดังนี้ 1.โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอี 2.โครงการสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด 3.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 4. โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอีใน 18 กลุ่มจังหวัด และ 5. โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์เอสเอ็มอีสู่ตลาดโลกโดยทั้ง 5 โครงการ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของ SMEsในด้านต่างๆ อาทิ การสร้างระบบบริหารจัดการสากล 
การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การยกระดับระบบการผลิตสู่การผลิตบนฐานนวัตกรรม และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 

โดยรายละเอียดและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานทั้ง  5 โครงการ มีดังต่อไปนี้

1.โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอีโครงการที่ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบปัญหาในภาคการผลิตอย่างเร่งด่วน (Turn Around) เพื่อฟื้นฟูให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และทำให้ SMEs สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นได้อย่างตรงจุด และนำไปสู่การต่อยอดพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ภายใต้งบประมาณโครงการ 430 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเข้าไปช่วยเหลือ SMEs จำนวน 7,000 กิจการทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อจบโครงการคาดว่าไม่ต่ำกว่า 4,000 กิจการ จะสามารถสร้างผลิตภาพเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 6

2.โครงการสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด โดยการคัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตจากแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ รวม 77 จังหวัด ใน 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่เพิ่งเริ่มดำเนินธุรกิจ (StartUp) กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพในการตลาด(RisingStar) และกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในช่วงฟื้นตัว(TurnAround) เข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพ ซึ่งจัดให้มีนักวินิจฉัยที่ปรึกษา การฝึกอบรม การส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ SMEs ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเป็นต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพของ SMEs ไทยในการขยายธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการสุดยอด SMEจังหวัด ใช้งบประมาณโครงการ 31 ล้านบาท สามารถพัฒนาผู้ประกอบการต้นแบบได้ 222 กิจการ แบ่งเป็นธุรกิจกลุ่ม StartUp จำนวน 72 กิจการ ธุรกิจกลุ่มRising Star จำนวน 74 กิจการ และธุรกิจกลุ่ม TurnAround จำนวน 76 กิจการ โดยภาพรวมความพึงพอใจของโครงการฯมากถึงร้อยละ 90 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มของโครงการได้ถึง 15.2 ล้านบาท

3.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการ SMEs เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาสินค้าและบริการที่ยังขาดการพัฒนาและออกแบบให้ตรงตามความต้องการของตลาด โดยโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณ 37 ล้านบาท ตั้งเป้าพัฒนากิจการจำนวน 177 กิจการ/ 177 ผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมได้กิจการละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5

4.โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอีใน 18 กลุ่มจังหวัด เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการรวมกันเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม หรือคลัสเตอร์ (Cluster) เพื่อสร้างความร่วมมือ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ระหว่างกัน อาทิ คลัสเตอร์เครื่องหนังไทยคลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุดรธานี คลัสเตอร์แป้งมันสำปะหลัง และคลัสเตอร์บรรจุภัณฑ์โลหะ เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ ซึ่งโครงการนี้สามารถพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน ในเครือข่ายคลัสเตอร์ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ถึง 2,317 ราย จากทั้ง 17 เครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้กว่า 2,300 ล้านบาท จากงบประมาณในการดำเนินการประมาณกว่า 88 ล้านบาท

5.โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์เอสเอ็มอีสู่ตลาดโลก มุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมแฟชั่นและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญของไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์(Design) รวมทั้งออกแบบ (Innoneering) และเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนคุณภาพของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ SMEs ให้ทัดเทียมกับนานาชาติและรองรับการเปิดเสรีของ ASEANEconomic Community (AEC) เพื่อการเติบโตได้อย่างยั่งยืนในตลาดสากล โดยปีนี้ใช้งบประมาณในการพัฒนาโครงการ 85 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพมุ่งสู่ตลาดสากลได้ไม่ต่ำกว่า 1,135 ราย / 70 กิจการ และสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 160 ล้านบาท

ทั้งนี้ การดำเนินการทั้ง 5 โครงการเร่งด่วนของ กสอ.จะสามารถสร้างความพร้อมให้ SMEs ในทุกด้านทั้งกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ การเพิ่มผลิตภาพ เน้นการสร้างความสอดคล้องกับตลาดและนวัตกรรม รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น ตลอดจนสร้างผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นนอกจากนี้ กสอ. ยังมีนโยบายสำคัญที่ต้องดำเนินการในปี 2559 และอีก 3 ปีข้างหน้า ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบซุปเปอร์คลัสเตอร์ นโยบาย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (NewS-curve)เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 และเอสเอ็มอี สปริงอัพ (SMEsSpring Up) เพื่อสอดรับตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรม SMEsและผลักดันให้การส่งเสริม SMEs เป็นวาระแห่งชาติ ทั้งนี้ กสอ. คาดว่าสิ้นปี 2559 GDP SMEs สิ้นปี 2559 จะขยายตัวสูงถึง 6%นายประสงค์ กล่าวทิ้งท้าย

 

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 โทรศัพท์. 0-2202-4414-18หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th หรือ www.facebook.com/dip.pr

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...