ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

“ภาครัฐ -เอกชน-สังคม”ลดเหลื่อมล้ำ หนุนจ้างงานคนพิการ 10,000 อัตรา คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจ 1,000 ล้านบาท

 

6 องค์กรวิชาชีพ-บริษัทเอกชนชั้นนำกว่า 200 องค์กร ร่วมสานพลัง ประชารัฐจ้างงานคนพิการ 10,000 อัตรา โครงการ “สานพลังสู่มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ 10,000 อัตรา” ภายในปี 2559 “กระทรวงแรงงาน-พม.” ยืนยันเอกชนมั่นใจจ้างได้โดยมีกฎหมายรองรับ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและยังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจคิดเป็นเงินกว่า 1,000 ล้านบาท ด้าน “สสส.-มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม”เร่งสร้างความร่วมมือทั้งฝั่งผู้จ้างและคนพิการให้เกิดการขยายผล ชูคำขวัญ “ทำได้ ทำง่าย ไม่ต้องรอ” คาดว่าจะเกิดโอกาสจ้างคนพิการในงานนี้ไม่น้อยกว่า 3,000 อัตรา

 

เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2559 ที่หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรชัย ชั้น 7อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมเป็นประธานงานประกาศความร่วมมือ โครงการ “สานพลังสู่มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ 10,000 อัตรา” จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ในฐานะองค์กรตัวกลางที่สนับสนุนให้เกิดการจ้างงานคนพิการ และภาคเครือข่ายที่ทำงานด้านคนพิการอีกกว่า 20 องค์กร โดยมีภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์สนับสนุนให้เกิดการจ้างงานคนพิการในงานนี้กว่า 200 องค์กร  

 

พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงฯ พร้อมขับเคลื่อนให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล “ประชารัฐ” ที่เน้นบูรณาการพลังร่วมจากทุกภาคส่วนละสนับสนุนการจ้างงานและการส่งเสริมอาชีพคนพิการมิติใหม่ โดยอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจในการปฏิบัติตามกฏหมายจ้างงานตามมาตรา 33 ซึ่งสถานประกอบการไม่เพียงแต่จ้างคนพิการทำงานตรงกับบริษัท แต่ยังสามารถจ้างคนพิการให้ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะในชุมชนหรือภูมิลำเนาได้  และยังส่งเสริมอาชีพตามมาตรา 35 ที่บริษัทสามารถให้การสนับสนุนคนพิการที่มีความต้องการประกอบอาชีพอิสระได้ โดยกระทรวงได้มอบนโยบายนี้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว เพื่อสนับสนุนให้เกิดจ้างงานคนพิการได้ 10,000 อัตราภายในสิ้นปีนี้

 

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวว่า กระทรวงฯ มีบทบาทโดยตรงในการประสานนโยบายร่วมกับทุกหน่วยงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นำไปสู่ความเท่าเทียม และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ถ้าสามารถร่วมมือกันขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการให้ได้ตามเป้าหมาย 10,000 อัตราในปีนี้ ย่อมเท่ากับสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง 1,000 ล้านบาท เพราะตามกฏหมายได้กำหนดให้สถานประกอบการรับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนลูกจ้างต่อคนพิการ 100:1 ทำให้มีจำนวนคนพิการที่สถานประกอบการต้องจ้าง 55,283 ตำแหน่ง ขณะที่สถานประกอบการปัจจุบันสามารถจ้างงานคนพิการได้เพียง 34,383 ตำแน่ง คิดเป็นร้อยละ 62 เท่านั้น และหากสถานประกอบการใดไม่สามารถจ้างคนพิการได้ครบก็จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในอัตรา 109,500 บาทต่อคนต่อปี

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.โดยแผนสุขภาวะประชากรกลุ่เฉพาะได้สนับสนุนแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแบบครบวงจร ภายใต้มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม โดยได้ริเริ่มและเชื่อมประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกับขับเคลื่อนจนเกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการกว่า 1,277 อัตราในปี 2559 โดยความร่วมมือของบริษัทเอกชน 88 องค์กร ถือเป็นมิติใหม่การจ้างงานและสร้างอาชีพคนพิการ ทำให้คนพิการเข้าถึงโอกาสในการทำงาน ทั้งงานสาธารณะประโยชน์  รวมถึงการพัฒนารูปแบบการทำงานจิตอาสารณรงค์ ให้ความช่วยเหลือคนพิการที่อดีตเป็นจิตอาสาสู่การเป็นอาชีพนักพัฒนาสังคมและนักรณรงค์ที่มีลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน (พิการ) ทำให้คนพิการได้ทำงานที่มีคุณค่า พร้อมกับการมีรายได้ มีอิสระมีศักดิ์ศรีและพึ่งพาตนเองได้ ขณะที่บริษัทที่เข้าร่วมโครงการต่างมีความพึงพอใจต่อผลงานของคนพิการ และรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ สสส.ยังสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำ ผ่านมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ  โครงการฮิวแมนสเตชัน เพื่อผลิตนักดนตรีคนพิการ ที่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง อาชีพนวดตาบอด และพัฒนาทักษะการผลิตสื่อของคนหูหนวก เป็นต้น

 

นายอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานกรรมการมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมกล่าวว่าผลจากการเชื่อมต่อผู้จ้างอันหมายถึงสถานประกอบการและคนพิการผ่านองค์กรภาคีภาคสังคมกลุ่มต่างๆ เช่น  มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาลำปาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ มูลนิธิเมาไม่ขับและอีกมายมาย รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับภาครัฐทั้งสองกระทรวงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมมีความพร้อมที่จะร่วมกันขยายผลให้เกิดการจ้างงานตาม โครงการ “สานพลังสู่มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ 10,000 อัตรา” ด้วยคำขวัญ “ทำได้ ทำง่าย ไม่ต้องรอ” โดยในงานนี้ จากความร่วมมือของ 6 องค์กรวิชาชีพชั้นนำของประเทศ ได้แก่ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย รวมทั้งบริษัทเอกชนที่มาร่วมงานในวันนี้กว่า 200 องค์กร ทำให้สามารถคาดหวังเป้าหมายในเบื้องต้น ว่าจะเกิดโอกาสการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการในงานนี้ไม่น้อยกว่า 3,000 อัตรา จาก 10,000 อัตราที่เป็นเป้าหมายร่วมภายในสิ้นปีนี้ 

 

 

 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...