ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กสอ.รุกดึงเอกชนญี่ปุ่นลงทุนไทย พร้อมเผย 4กลุ่มอุตสาหกรรมโดนใจยุ่น คาดจับคู่ธุรกิจไม่ต่ำกว่า 50 ราย


กรุงเทพฯ 22 มิถุนายน 2559–กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม ดึงภาคเอกชนประเทศญี่ปุ่น14 รายร่วมกิจกรรมสัมมนาและเจรจาธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น โดยผลจากการจัดกิจกรรมพบ  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นสนใจร่วมทุนในไทยได้แก่อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งคาดว่าจะเกิดการจับคู่ธุรกิจได้ไม่ต่ำกว่า 50 ราย ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน กสอ.ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่นโดยสามารถดึงนักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนในไทยแล้วกว่า 700 กิจการ จากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่นอาทิ จังหวัดไซตามะ จังหวัดยามานาชิ จังหวัดอาคิตะ จังหวัดโทโทริและจังหวัดเกียวโต เป็นต้น

ทั้งนี้กสอ. ได้จัดกิจกรรมสัมมนาและเจรจาธุรกิจเพื่อที่จะยกระดับอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนาสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 โทรศัพท์. 0-2202-4501หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th หรือ www.facebook.com/dip.pr



นายประสงค์ นิลบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)ได้จัดกิจกรรมสัมมนาและเจรจาธุรกิจ(Business Matching)ระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นโดยมีบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่สนใจลงทุนในประเทศไทย จำนวน 14 บริษัท ได้แก่ บริษัทShowa electric MFGจำกัด (ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์อิเล็คทรอนิกส์) บริษัท Matsui Corporationจำกัด (บริษัทจัดหาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและเครื่องยนต์) และ บริษัทTanaka Foodจำกัด (ผู้แปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากธัญพืช โดยใช้ข้าวหอมมะลิจากไทย)เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเสวนาให้ความรู้ผู้ประกอบการในหัวข้อเทคนิคการค้าและการลงทุนกับประเทศญี่ปุ่น และข้อควรระวังในการลงทุนร่วมกับต่างประเทศซึ่งการร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่นในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทย ได้รับองค์ความรู้ในการบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังส่งผลให้ผู้ประกอบการของญี่ปุ่นขยายฐานการผลิตในประเทศไทยและเกิดการจ้างงานในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันเป็นการสร้างโอกาสให้นักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของไทยได้ขยายการลงทุตลอดจนก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเครือยข่ายอุตสาหกรรม(Cluster) ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย

นายประสงค์ กล่าวต่อว่า จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ พบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศญี่ปุ่นมีความสนใจในการลงทุนในประเทศไทยได้แก่ อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เนื่องจากไทยมีความพร้อมด้านวัตถุดิบ การคมนาคมที่สะดวกทันสมัย และแรงงานที่มีศักยภาพ ทั้งนี้จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวคาดว่าจะเกิดการจับคู่ธุรกิจได้ไม่ต่ำกว่า 50 ราย ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กสอ. ได้ดำเนินโครงการ“โต๊ะญี่ปุ่น”(Japan Desk)  ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมและพัฒนา SMEsให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือ ระหว่างรัฐกับรัฐ  ซึ่งได้มีความร่วมมือกับจังหวัดต่าง ๆ ของญี่ปุ่น อาทิ จังหวัดไซตามะ จังหวัดยามานาชิ จังหวัดอาคิตะ จังหวัดโทโทริและจังหวัดเกียวโต เป็นต้น   โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนในไทยกว่า 700 กิจการ จาก 19 หน่วยงาน อาทิ  อุตสาหกรรมด้านสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทออุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะยังคงเน้นในการขยายความร่วมมือไปยังจังหวัดและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญของญี่ปุ่นตามแต่ละพื้นที่ที่มีจุดเด่นสอดคล้องอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยทั้งในด้านการค้าและอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของไทยรองจากประเทศจีน และมีการลงทุนสูงถึงร้อยละ 40 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดโดยพบว่าการลงทุนของผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยมีมูลค่ารวมประมาณ 1.6 แสนล้านบาท (ธนาคารแห่งประเทศไทย) ซึ่งการร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น จะช่วยให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นในหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและช่วยสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งขึ้นและหากสามารถขยายเครือข่ายอุตสาหกรรมไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ ก็จะทำให้เรายิ่งมีห่วงโซ่การผลิตที่เข้มแข็งในอนาคต นายประสงค์กล่าวสรุป

ทั้งนี้ กสอ. ได้จัดงานการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและประเทศญี่ปุ่น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อเร็วๆนี้โดยมีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมกว่า 100 ราย สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 โทรศัพท์. 0-2202-4501หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th หรือ www.facebook.com/dip.pr


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...