ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศขานรับแผนเศรษฐกิจใหม่ จับมือสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปิดตัวโครงการ Design Service Society

ปั้นโมเดลความคิดใหม่ แก้เกมอุตสาหกรรมสู่ความสำเร็จด้วยกระบวนการออกแบบ

 

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า เดินหน้าหนุน แผนปฎิรูปเศรษฐกิจใหม่จับมือสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผุดโครงการ Design Service Society สร้างโมเดลความคิดใหม่ ผลักดันธุรกิจภาคอุตสาหกรรมสู่ความสำเร็จ ด้วยการใช้กระบวนการออกแบบตั้งเป้าปั้น อุตสาหกรรมบริการออกแบบไทยผงาดเวทีการค้าอาเซียน

 

..คฑาทอง ทองใหญ่ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า กรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีนโยบายในการ สนับสนุนผู้ประกอบการไทยสู่การสร้างความเป็นเลิศในการส่งออกสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนในด้านการสร้างแบรนด์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ (Value Creation, Innovation and Branding) ซึ่งสถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้าได้ดำเนินงานตามแผน กลยุทธ์ของกรมฯมาโดยตลอดในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการออกแบบ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำ การออกแบบเข้าไปใช้ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยการสร้างแบรนด์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีเอกลักษณ์ โดดเด่น และแตกต่าง เป็นคุณค่าเพิ่มที่สร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้ 

ซึ่งการส่งเสริมอุตสาหกรรมบริการออกแบบถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสนับสนุนผู้ประกอบการ ให้มีการ พัฒนาสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรม การสร้างคุณค่าความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างความได้เปรียบ ทางการแข่งขันในตลาดโลก โดยสถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้าได้ริเริ่มโครงการดีไซน์ เซอร์วิส โซไซตี้ (Design Service Society) ขึ้น โดยความร่วมมือกับสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยการผนึกกำลังผู้ประกอบการและนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ รวมถึงเผยแพร่ องค์ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการออกแบบ ไปยังผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อสร้างเวทีเชื่อมโยงผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและนักออกแบบให้มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิด การสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับภาคอุตสหากรรมการผลิตการค้าและการบริการที่มีคุณค่าประทับใจผู้บริโภค อีกทั้ง มุ่งส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบริการออกแบบให้แข็งแกร่ง เพื่อซับไพร์ไปยังตลาดอาเซียนและนานาประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการพัฒนาบริการด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อการส่งออก (Talent Export) เพื่อเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มีการขยายตัวและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

 

ผศ.ดร.โชคอนันต์ บุษราคัมภากร นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกล่าวว่า ในโครงการ Design Service Society ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไปจะได้เห็นโมเดลใหม่ทางความคิด เกี่ยวกับการออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Innovations by Design’ การออกแบบจุดความสำเร็จนวัตกรรม ที่สมาคมฯ ต้องการสื่อสารนิยามของการออกแบบว่าคือกระบวนการทางความคิด การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการออกแบบ ที่มิใช่เพียงการตกแต่งรูปลักษณ์สินค้าภายนอกให้ดูสวยงามแตกต่างจากคู่แข่งขัน แต่ยังเป็นกระบวนการสร้างคุณค่า ภายในของสินค้าและบริการที่มีขั้นตอนตั้งแต่ 1) การสำรวจและวิจัย (Research and Exploration)  เพื่อรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบ อาทิ ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เทรนด์ความต้องการตลาด เทคโนโลยี และคู่แข่ง,

2) ระบุปัญหาและทำความเข้าใจผู้ใช้ที่แท้จริง (Context and User Insight) 3) กำหนดกลยุทธ์และสร้าง กรอบแนวคิดในการออกแบบ (Strategic Brief and Direction), 4) การทดลองและถ่ายทอด (Ideation and Conceptualisationเพื่อสร้างสรรค์แนวคิด รูปแบบและรายละเอียดการออกแบบต่างๆ, 5) การทำต้นแบบและ ประเมิน (Design Prototyping) เป็นการสร้างต้นแบบเพื่อตรวจสอบรายละเอียดก่อนนำไปผลิตและจัดจำหน่าย ซึ่งทั้ง ขั้นตอนนี้สามารถนำไปใช้ได้ทุกรูปแบบธุรกิจบนพื้นฐานกลยุทธ์หลักคือ การนำเสนอความหลากหลายของ สินค้ามองหาความเป็นไปได้ของอนาคตที่สามารถทำได้จริงเสริมสร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ไปใน ตัวสินค้าที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาให้กับผู้ใช้ออกแบบสินค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับ ผู้บริโภค และการลดต้นทุนอย่างสร้างสรรค์เพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยโครงการ Design Service Society จะเป็นการรวบรวมผู้ประกอบการที่ให้บริการออกแบบ แบ่งเป็นออกเป็น ประเภท ได้แก่ 

1.  Design Incubation กลุ่มผู้ให้บริการออกแบบที่เน้นแนวคิดการทำงานร่วมกัน เพื่อบ่มเพาะและถ่ายทอด ระบบความคิดและกระบวนการออกแบบไปยังธุรกิจเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด และพฤติกรรมของธุรกิจสำหรับ การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง 

2. Design Innovation กลุ่มผู้ให้บริการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้กับผู้ใช้บริการในรูปแบบของ การค้นหาปัญหาและนำเสนอแนวคิดการออกแบบใหม่ เพื่อเข้าไปช่วยแก้ปัญหาธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ รับการตอบสนอง ด้วยการใช้แนวคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเพื่อนำเสนอนวัตกรรมที่ประทับใจผู้บริโภคสู่ตลาด

3. Business Design การให้บริการออกแบบเพื่อปรับเปลี่ยนและเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ โดยการออกแบบ จะเข้าไปผลักดันให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงและก้าวข้ามอุปสรรคเดิมๆ ไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจเติบโตได้ อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

โดยได้จัดรูปแบบการให้บริการของอุตสาหกรรมบริการออกแบบเป็น รูปแบบ เพื่อให้เกิดการทำงาน ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและนักออกแบบ ดังนี้

1. Service Provider ให้บริการออกแบบแก้ปัญหาตามโจทย์และความต้องการของผู้รับบริการ
2. Collaborator การร่วมมือพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
3. Innovator การนำเอานวัตกรรมการออกแบบของผู้ให้บริการมาผลักดันให้ธุรกิจและแบรนด์ของผู้รับบริการ เกิดการเปลี่ยนแปลง
4. Joint Venture การลงทุนทางธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

ด้วยกระบวนการและรูปแบบการให้บริการทางด้านการออกแบบที่หลากหลายทำให้เห็นได้ว่าไม่ว่าธุรกิจอะไร ก็สามารถใช้บริการด้านการออกแบบในการสร้างสำเร็จให้ธุรกิจได้ ซึ่งโครงการ Design Service Society จะมีการจัดแสดงบูธภายในงานแสดงผลงานนวัตกรรมและการออกแบบครั้งที่ 3 (Thailand Innovation and Design Expo 2015) ซึ่งจะบอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการออกแบบยุคใหม่ที่ผู้ประกอบการ และผู้เข้าชมงานจะได้เห็น ถึงความสำคัญของการออกแบบ ที่เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จด้วยการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการค้าและการบริการ ซึ่งการผนึกกำลังของผู้ประกอบการด้านการออกแบบในครั้งนี้จะนำไปสู่ การสร้าง ความแข็งแกร่งและความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมบริการออกแบบเพื่อการส่งออกที่จะช่วยผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายการดำเนินโครงการภายใน ปี ให้เกิด การทำงานร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและผู้ให้บริการออกแบบอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยยกระดับการค้า การส่งออกสินค้าเชิงนวัตกรรมเพื่อแข่งขันในตลาดสากล และนำไปสู่การเป็นผู้นำในการส่งออกอุตสาหกรรมบริการ ออกแบบของอาเซียน และระดับโลกต่อไป นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกล่าวเสริม

 

โครงการ Design Service Society จะจัดแสดงบูธภายในงาน Thailand Innovation and Design Expo 2015 ระหว่างวันที่ 17-20 กันยายน 2558 ณ โซน ห้องเพลนารี ฮอลล์ 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีบริการให้คำปรึกษาฟรีจากผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมบริการออกแบบตลอดทั้ง วัน และ ในวันที่ 19 กันยายน จัดให้มีเวทีเสวนาฟรีหัวข้อ ความล้มเหลวคือจุดเริ่มต้นของความสำรเร็จ” และ จุดประกาย ความสำเร็จระดับโลกกับการออกแบบน้ำดื่มสปริงเคิล” ณ ห้องสัมมนา โดยสามารถลงทะเบียนเข้ารับฟัง การเสวนาได้ที่ http://bit.ly/designservicesociety

 

**********

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...