ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นายกรัฐมนตรีหนุนกระทรวงอุตฯ ส่งเสริมมาตรฐานอาหารไทย ให้โปรโมทตราสัญลักษณ์ “รสไทยแท้” ไปทั่วโลก

 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หนุนโครงการ“ส่งเสริมมาตรฐานอาหารไทยและความเป็นเอกลักษณ์ด้านรสชาติอาหารไทยสู่ภาคอุตสาหกรรม”(Authenticity of Thai Food Industry) มอบนโยบายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารสถาบันอาหาร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักผู้รับผิดชอบ ให้ส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการโดยการใช้เครื่องตรวจวัดรสชาติมาตรฐานอาหารไทยอิเล็กทรอนิกส์กับผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่ส่งออกไปทั่วโลกเพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ย้ำอาหารไทยที่ผ่านการรับรองควรได้รับตราสัญลักษณ์ “รสไทยแท้” หรือ “Thai Taste” เพื่อการันตีว่ามีความเป็นอัตลักษณ์รสชาติอาหารไทย   เน้นการบูรณาการอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและการบริการกับกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง  เพื่อผลักดันโครงการฯ สู่เป้าหมายในทุกมิติ สอดรับยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลก ทั้งด้านการยกระดับ พัฒนาแรงงานฝีมือพ่อครัว แม่ครัว ด้านการประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยว ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพและความปลอดภัยในระดับสากล และด้านการขยายช่องทางการตลาดในต่างประเทศ เป็นต้น

วันนี้(17 ส.ค. 2559) ณ บริเวณหน้าตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี      นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหารพร้อมคณะผู้บริหารสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ“ส่งเสริมมาตรฐานอาหารไทยและความเป็นเอกลักษณ์ด้านรสชาติอาหารไทยสู่ภาคอุตสาหกรรม”(Authenticity of Thai Food Industry) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทยในทุกมิติ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาเอสเอ็มอีในการผลิตเมนูอาหารแปรรูปให้มีรสชาติไทย หรือAuthentic Thai Taste โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นน้ำซอส หรือผงปรุงรสให้อยู่ในรูปแบบกึ่งสำเร็จรูปที่ยังคงรสชาติ และกลิ่นอายของความเป็นอาหารไทยไว้ได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ไม่ว่าจะปรุงที่ไหนก็จะได้รสชาติอาหารที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีเป้าหมายยกระดับผู้ประกอบการให้ได้ 500 รายต่อปี นอกจากนี้ยังส่งเสริมการสร้างมาตรฐานอาหารไทยให้แก่ภาคการบริการโดยเฉพาะร้านอาหารไทยที่กระจายอยู่มากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งมาตรฐานด้านการเลือกใช้วัตถุดิบที่ถูกต้องครบถ้วนตามสูตรต้นแบบการปรุงอาหารของไทย และด้านรสชาติอาหารไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการรับรองผลิตภัณฑ์จะได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน Authenticity of Thai Food Industry เพื่อรับรองว่าเป็นอาหารรสไทยแท้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำนายกรัฐมนตรีชมนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ“ส่งเสริมมาตรฐานอาหารไทยและความเป็นเอกลักษณ์ด้านรสชาติอาหารไทยสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยมีสถาบันอาหาร ซึ่งเป็นสถาบันเครือข่ายสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานดำเนินงานหลัก ร่วมด้วยหน่วยงาน   บูรณาการ ได้แก่ สำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยจะร่วมกันส่งเสริมภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่การวางแผนการจัดการคุณภาพวัตถุดิบให้มีคุณภาพและความปลอดภัย พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม  ยกระดับมาตรฐานการผลิตให้เป็นสากลโดยการวิเคราะห์และทดสอบรสชาติ รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งให้การรับรองมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ส่งเสริมช่องทางการตลาดในต่างประเทศ และให้การรับรองมาตรฐาน Authenticity of Thai Food เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการประสานกับกระทรวงต่างๆ เพื่อจัดทำบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน บูรณาการความร่วมมือให้ครอบคลุมในทุกมิติของการส่งเสริมมาตรฐานอาหารไทย และความเป็นอกลักษณ์ด้านรสชาติอาหารไทยสู่ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่ ยกระดับและพัฒนาฝีมือแรงงาน  กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น

ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ได้รายงานผลการดำเนินงาน และความคืบหน้าของโครงการในส่วนของการส่งเสริมภาคการบริการอุตสาหกรรมอาหารไทยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐานอาหารไทยนำร่องทั้งหมด 13 เมนู แบ่งเป็นอาหารคาว 11 เมนู ได้แก่ ส้มตำไทย ผัดไทย กะเพราหมู ต้มยำกุ้งน้ำใส ต้มยำกุ้งน้ำข้น มัสมั่นไก่ สะเต๊ะไก่ ลาบหมู ต้มข่าไก่  พะแนงเนื้อ แกงเขียวหวานไก่ และอาหารหวาน 2 เมนู ได้แก่ ทับทิมกรอบ และ      ข้าวเหนียวมูนมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารไทยจากผู้ปรุงต้นแบบจำนวน 7 ราย มาร่วมกำหนดมาตรฐานอ้างอิงอาหารไทยโดยการปรุงอาหารไทย และจัดกิจกรรมทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยการชิม และทำการทดสอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่อง Electronic nose และ Electronic tongue     ที่สามารถรับรู้กลิ่นและรสชาติต่างๆ เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลใช้เป็นค่ามาตรฐานในการอ้างอิงจัดทำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้การรับรองมาตรฐานอาหารไทยเข้ามาช่วยในการตรวจวัดเพื่อคำนวณค่ากลิ่นรส และรสชาติค่าความเผ็ด ความเค็ม ความหวาน ความเปรี้ยว และอูมามิ  ซึ่งจะได้มอบเครื่องหมาย Authenticity of Thai Food Industry เพื่อรับรองว่าเป็นอาหารรสไทยแท้ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารและร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศในลำดับต่อไป 

ทั้งนี้ในวันที่ 24 สิงหาคม  นี้ สถาบันอาหาร มีกำหนดการจัดงานAuthenticity of Thai Food to The World เพื่อเผยแพร่อาหารต้นแบบทั้ง 13 เมนูดังกล่าว โดยจัดเสิร์ฟในรูปแบบกาล่าดินเนอร์ ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่าแอททินี กรุงเทพฯ โดยได้เชิญคณะทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ คณะรัฐมนตรี แขกผู้มีเกียรติระดับประเทศจากภาครัฐและเอกชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์มาตรฐานอาหารไทยและความเป็นเอกลักษณ์ด้านรสชาติอาหารไทย อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของอาหารไทยและส่งเสริมยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...