ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กพร. รุกไอเดียเหมืองแร่รักษ์โลก เปิดโครงการ CSR-DPIM นำร่อง เหมือง 71 แห่งทั่วไทย

กรุงเทพฯ 17 พฤษภาคม 2559 - กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัด โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานนำเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ ปี 2559” โดยจัดต่อเนื่องขึ้นเป็นปีที่ โครงการ CSR-DPIM เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ใช้ในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ให้มีแนวทางการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรฐาน CSR-DPIM นั้นสอดคล้องตามมาตรฐานสากล ISO 26000  ครอบคลุมแนวปฏิบัติ หัวข้อหลักด้วยกัน คือ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติที่เป็นธรรม ผู้ใช้แร่ และการมีส่วนร่วมกับสังคมและชุมชน  ตลอดระยะเวลา ปีที่ผ่านมา (2553-2558) มีผู้ประกอบอุตสาหกรรมแร่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถประยุกต์นำมาตรฐาน CSR-DPIM ในสถานประกอบการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จำนวน 71 แห่ง โดยในปี 2559 กพร.ตั้งเป้าขยายผลสถานประกอบการเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 10 แห่ง

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 กรุงเทพฯ โทร. 02 202 3555 หรือเว็บไซต์www.dpim.go.th



นายชาติ หงส์เทียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้จัด “โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR-DPIM)” ประจำปี 2559 ขึ้น เพื่อสอดรับกับยุทธศาสตร์ในการผลักดันและส่งเสริมให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังต้องการให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่สามารถประกอบการอย่างต่อเนื่องและอยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ตลอดจนสร้างความเข้าใจและก่อให้เกิดการยอมรับในความจำเป็นของการนำทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์ ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตและใช้แร่ได้อย่างยั่งยืนก่อให้เกิดความมั่นคงในอุตสาหกรรมแร่ในระยะยาวต่อไปอย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาตลอดการดำเนินโครงการฯ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับการส่งเสริมให้สามารถนำมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้แล้วจำนวน 71 แห่ง ละในปี 2559 นี้ กพร. ตั้งเป้าส่งเสริมสถานประกอบการให้สามารถนำมาตรฐานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 10 แห่ง

โดยรายละเอียดของโครงการดังกล่าว ได้กำหนดมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม ประกอบด้วย 7 หัวข้อหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร หลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน ด้านสิ่งแวดล้อม  การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นผู้บริโภค การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน โดยทั้ง 7 หลักดังกล่าวสามารถพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ อาทิ ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นลายลักษณ์อักษร  ผู้ประกอบการมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ แก้ไขข้อร้องเรียน รวมถึงให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง ผู้ประกอบการควรมีการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อลดผลกระทบจากมลพิษ  ผู้ประกอบการมีการส่งเสริมการต่อต้านการคอร์รัปชั่น การแข่งขันอย่างเป็นธรรม ฯลฯ 

นายชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า กพร. ได้จัดตั้งเครือข่าย CSR-DPIM เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการขยายผลความร่วมมือในระดับเครือข่ายของสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Group Training) เพื่อสร้างประสบการณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมใหม่ๆ จากเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และการจัดศึกษาดูงานนอกสถานที่ ตลอดจนการขยายผลการดำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยในปี 2558 นี้มีสถานประกอบการ CSR-DPIM จำนวน 10 แห่ง มีการปฏิบัติสอดคล้องตามเกณฑ์การทวนสอบมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) และมีสถานประกอบการเครือข่าย CSR-DPIM จำนวน 41 แห่ง จาก 48 แห่งทั่วประเทศ ที่มีการปฏิบัติสอดคล้องตามเกณฑ์การทวนสอบรายงาน (Self Assessment Report)มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM)  

สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่มีความสำคัญมากสำหรับภาคการผลิต โดยผลผลิตจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่กว่าร้อยละ 70 ถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆภายในประเทศ สร้างมูลค่ากว่า ล้านล้านบาทต่อปี ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเหมืองแร่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ทั้งในแง่ของการเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่ ซึ่งหากไม่มีการกำกับดูแลที่ดีจะส่งผลกระทบต่อชุมชน สร้างความวิตกกังวลของชุมชนโดยรอบ โดยการแก้ไขปัญหานอกจากจะต้องกำกับดูแลการประกอบการให้เกิดความปลอดภัย สร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องสร้างความตระหนักและยอมรับการประกอบการเหมืองแร่ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งยังจะต้องส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและให้ชุมชนได้รับความคุ้มครองและได้รับประโยชน์จากการประกอบการในพื้นที่อีกด้วย นายชาติ กล่าวสรุป 

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 กรุงเทพฯ โทร. 02 202 3555 หรือเว็บไซต์www.dpim.go.th




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...