ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรมโรงงานฯ โชว์ผลงานลดใช้สาร HCFC-22 ในกลุ่มอุตสาหกรรมแอร์ พร้อมตั้งเป้าประเทศไทยปลอดสารทำลายโอโซนปี 73


กรุงเทพฯ 20 เมษายน 2559 กรมโรงงานอุตสาหกรรม โชว์ผลงานโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน นำร่องดึง 10 โรงงานในกลุ่มเครื่องปรับอากาศ ลดการใช้สารทำความเย็น HCFC-22 เป็นสารทำความเย็นชนิดใหม่ HFC-32 เพื่อลดการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวคาดว่าจะลดการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้กว่า 46 โอดีพีตันต่อปี  และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 1,116,333  ตันคาร์บอนไดออกไซด์  อย่างไรก็ตามจากนโยบายของรัฐบาลมีเป้าหมายให้ประเทศไทยลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) ภายในปี 2573  สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักสนธิสัญญาและยุทธศาสตร์ 0-2202-4228 หรือเข้าไปที่ www.diw.go.thและสายด่วน กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1564

 

 

นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับธนาคารโลกจัดทำแผนการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Thailand HCFC Phase-out Project : HPMP) โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) ในประเทศไทยภายในปี 2573 โดยที่ผ่านมาได้มอบหมายให้กรมโรงงานฯ จัดทำแผนดำเนินงานโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและเทคโนโลยี ผ่านโครงการต่างๆ อีกทั้ง มีมาตรการด้านการเผยแพร่ความรู้ประชาสัมพันธ์ ด้วยการดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด 

ด้าน ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานฯ ร่วมมือกับธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ระยะที่ 1  โดยธนาคารออมสินมีบทบาทในการเป็นผู้บริหารเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออลผ่านธนาคารโลก ซึ่งได้มีผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการดังกล่าว รวม 10 ราย ได้แก่ 1.บริษัท บิ กริมม์ แอร์คอนดิชันนิ่ง จำกัด 2.บริษัท บิสไวท์ (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท อิมิแนนท์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 4.บริษัท พีพีเจ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 5.บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 6.บริษัท ทรัพย์สุขศิริ จำกัด 7.บริษัท สุปรีม ซี เอ็น บี คอร์ปอเรชั่น จำกัด 8.บริษัท ทรัพย์ทองห่อ จำกัด 9.บริษัท ยูนิโก้ คอนซูมเมอร์ จำกัด 10.บริษัท ยูไนเต็ด เทคโนโลยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมดังกล่าวได้ใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC-32) ทดแทน คาดว่าจะลดการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้กว่า 46 โอดีพีตันต่อปี  และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 1,116,333  ตันคาร์บอนไดออกไซด์

 

นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า  ซัยโจ เด็นกิ  ได้รับเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงินกว่า 38 ล้านบาท เพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต และอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับสายการผลิตที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นจากเดิมใช้สาร HCFC-22 เปลี่ยนเป็นสารทดแทน HFC-32 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถลดการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้กว่า 6 โอดีพีตันต่อปี รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 140,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์  ทั้งนี้ปัจจุบันบริษัท  ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และเริ่มทำการผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้สาร HFC-32 เป็นสารทำความเย็น โดยได้พัฒนาปรับปรุงคอมเพรสเซอร์ และผลิตเครื่องปรับอากาศขนาด 9,000 – 25,000 บีทียู ในรุ่น Fixed Speed และ Inverter เพื่อรองรับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ออกู่ตลาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศ HFC-32 เพื่อออกสู่ตลาดในประเทศไทย และส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม ลาว เป็นที่เรียบร้อย และกำลังเตรียมส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในเร็วๆ นี้ จึงเป็นตัวอย่าง และกรณีศึกษาที่ดีของการพัฒนาเทคโนโลยีโดยบริษัทคนไทย ในการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีไปยังประเทศต่างๆ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจประเทศตามนโยบายภาครัฐ

 

สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับโครงการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักสนธิสัญญาและยุทธศาสตร์ 0-2202-4228 หรือเข้าไปที่ www.diw.go.th และสายด่วน กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1564 





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...