ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงงาน SMEs เข้าระบบบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม

กรุงเทพฯ – 18 มกราคม 2559 – กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวโครงการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและติดตามการต่ออายุโรงงานที่ขาดการจัดการกาอุตสาหกรรม เพื่อช่วย SMEs ที่ยังไม่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม ให้สามารถจัดการกากฯ โดยมีศูนย์เครือข่ายตั้งอยู่ใน 6 ภูมิภาค ได้แก่ 1. ภาคกลาง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. ภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 5.ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา และ 6.ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสามารถขอรับคำปรึกษาดังกล่าวได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0-2202-4168 หรือ www.diw.go.th

ดร.พสุ  โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น  โดยปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมจำพวกที่ 3 ทั่วประเทศกว่า 79,600 ราย (ข้อมูลเมื่อธันวาคม 2558) ซึ่งเป็นโรงงานที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน แม้จะมีกฎหมายกำกับดูแลด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมเป็นเวลานานกว่า 10 ปี แต่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการโรงงานที่เข้าสู่ระบบการจัดกากอุตสาหกรรมที่ถูกต้องเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงาน โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงงาน SMEs ทั่วประเทศ ได้เข้าสู่ระบบการจัดการกากฯ อย่างถูกต้องตามกฎกระทรวง กรอ.จึงได้ดำเนินการเปิด โครงการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและติดตามการต่ออายุโรงงานที่ขาดการจัดการกาอุตสาหกรรม” โดยมอบหมายให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่อยู่ในระบบ และจะต้องต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) มีโอกาสได้รับการช่วยเหลือจากศูนย์ฯ ให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2548

ดร.พสุ กล่าวต่อว่า สำหรับศูนย์ช่วยเหลือฯ ดังกล่าว เปิดบริการให้คำปรึกษาด้านการจำแนกประเภทและลักษณะกากอุตสาหกรรมตามลำดับประเภทโรงงาน จำนวน 104 ประเภท เพื่อระบุรหัสกากอุตสาหกรรม การแนะนำโรงงานผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับประเภทกากอุตสาหกรรม รวมถึงการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรม ประกอบการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ภายใต้โครงการดังกล่าวฯ มีการพัฒนาองค์ความรู้จากฐานข้อมูลด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมมาประยุกต์ใช้ในระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยจะพัฒนาเป็นระบบฐานข้อมูลสารสนเทศให้ผู้ประกอบการสามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรมได้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและสามารถเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน นำไปสู่ความสามารถแข่งขันในระดับโลกได้

 

ดร.พสุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ช่วยเหลือฯ ดังกล่าวดำเนินงานในรูปแบบของศูนย์เครือข่ายฯที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือโดยมีศูนย์ประสานงานกลางอยู่ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม และมีศูนย์เครือข่ายตั้งอยู่ใน 6 ภูมิภาค ได้แก่ 1. ภาคกลางศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. ภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 5. ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา และ 6. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย กรอ.ได้ดำเนินงานร่วมกับ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด โดยสามารถขอรับคำปรึกษาดังกล่าวได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจรับคำปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0-2202-4168 หรือ www.diw.go.th และ www.facwaste.com




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...