ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กสอ. จับมือ สวทช. ดัน SMEs ไทยสู่อุตสาหกรรมแห่งนวัตกรรม

 ​กรุงเทพฯ 14 ธันวาคม 2558 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ให้ 5 อุตสาหกรรมดาวเด่น รองรับ10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล มุ่งหวังสร้างมูลค่าเพิ่มในภาพรวมให้กับอุตสาหกรรมไทยได้กว่าร้อยละ 15

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การส่งเสริมและพัฒนา SMEs ของไทยในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs โดยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และพัฒนานวัตกรรม (Innovation) เพื่อยกระดับและสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้น ภาครัฐจึงผลักดันการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาและยกระดับ SMEs ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผ่านการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโดยมีเป้าหมายที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมไทย โดยเน้น 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ในเชิงนวัตกรรม ซึ่งการจะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายได้นั้นงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงหารือเพื่อสร้างข้อตกลงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อผลักดันงานด้านวิจัยและพัฒนา และการเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการให้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการทดสอบรับรอง เพื่อรองรับ10 อุตสาหกรรมเป้าหมายได้อย่างมีศักยภาพและยั่งยืน

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเอสเอ็มอีไทย และความร่วมมือในครั้งนี้ ว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลักในด้านการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและสังคม ซึ่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถือเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยและพัฒนามีระบบการถ่ายทอดและบริหารจัดการเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความพร้อมด้านบุคลากรในการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และช่วยเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้เพิ่มผลิตภาพ คุณภาพ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี การส่งต่อโอกาสการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี       จะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ได้ ก็ด้วยความร่วมมือและการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมโดยตรง คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม

ดังนั้เพื่อร่วมกันปักธงนวัตกรรมให้เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจ และนำความเข้มแข็งของทั้งสองหน่วยงานได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สวท. ในการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็วและสร้างความสมบูรณ์ให้กับข้อต่อของกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและการเสริมสร้างศักยภาพอุตสาหกรรมในครั้งนี้ อันจะเป็นการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และนำประเทศก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งนับเป็นการสร้างอนาคตประเทศไทยร่วมกันให้มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” 

 

 

ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กสอ. ได้ดำเนินการพัฒนานำร่องใน กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และไบโอพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ มีขอบเขตความร่วมมือกันในการส่งเสริมและพัฒนาให้ได้มาตรฐานและมีกระบวนการในการทดสอบ ส่งเสริมการออกแบบ โดยนำเอางานวิจัยและเทคโนโลยีในด้านการผลิตต่างๆ เข้ามาใช้ ตลอดจนการสนับสนุนของ สวทช. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังมีการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาบุคลากรสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs จะยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาพรวมให้กับอุตสาหกรรมไทยได้กว่าร้อยละ 15

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม /  สวทช. มีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลักดันงานวิจัยและพัฒนาสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทย ให้มีการผลิตที่ได้มาตรฐานผ่านการทดสอบ และยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค     ในประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยผ่านกลไกทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำด้านวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ การบริหารการผลิต ปรับปรุงกระบวนการผลิต และการวิเคราะห์และทดสอบ รวมถึงการอบรมสัมมนาและการจัดหาทรัพยากรสนับสนุนที่จำเป็น ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2559 จะมีโครงการนำร่องส่งต่อผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของทั้ง 2 ฝ่าย โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะสนับสนุนเรื่องบริหารจัดการธุรกิจ ฝึกอบรมด้านการเงิน และการตลาด ส่วน สวทช. จะบริหารโครงการเชิงลึกเพื่อพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีการผลิตและสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและยั่งยืน โดย สวทช. มีศักยภาพและความพร้อมในการดำเนินงานได้ทันทีและสามารถขยายบริการได้ครอบคลุมทุกจังหวัดสำคัญของไทย ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสนับสนุน SMEs ให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องกว่า 15,000 ราย เป็นต้น 

นอกจากนี้โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม / สวทช. จะดำเนินงานโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปประจำปี 2559 ในกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร รับสมัครผู้ประกอบการเข้ารับการอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในระหว่างวันที่ 23 - 24 ธันวาคม  2558 เวลา 8.30 -17.30 น. ณ ห้องอัมพวา ชั้น 10 โรงแรมวินเซอร์ สวีท แอนด์ คอนเวนชั่น ซอยสุขุมวิท 20 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายปัญญวัฒก์      วิรัชวงศ์ โทรศัพท์ 02-644-8150 ต่อ 81877 หรือ 089-381-8621 และ นางภัคจิรา สุขสว่าง โทรศัพท์ 02 -564-7000 ต่อ 1363 หรือ 081-551-7859  

--------------------------








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระทรวงอุตฯ เร่งปูพรมพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ SMEs /OTOP ทั่วประเทศ ตลอดมีนาคมนี้

กรุงเทพฯ  1  มีนาคม  2559 -  กระทรวงอุตสาหกรรมขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ  SMEs  และ  OTOP  ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการกว่า 800 ราย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริม  SMEs  และ  OTOP  ของประเทศ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะภาครัฐที่ดูแลและส่งเสริมผู้ประกอบการ  SMEs  และ  OTOP  โดยตรง จึงมีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลายด้าน ทั้งให้ความรู้การทำธุรกิจรอบด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือมาตรการด้านการเงิน และการให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำก...

ด่วน!!! สถาบันอาหาร รับสมัครเอสเอ็มอีดูงานที่ญี่ปุ่น-จับคู่ธุรกิจในงานFoodex Japan 2016

สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม  เชิญชวน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบ ธุรกิจแ ละอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   ระหว่างวันที่  6-12  มีนาคม  2559  เพื่อ สำรวจตลาด   และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่น   ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น   พร้อมศึกษานวัตกรรมอาหาร  แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ในงาน  Foodex Japan 2016   ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอาหาร และเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  มีผู้แสดงสินค้า  3,000  ราย  จาก  79   ประเทศ   และมีผู้เข้าชมงานราว  77,000  คน   จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายปลีก   โดยผู้ประกอบการ ของไทย สามารถนำสินค้ามาร่วมจัดแสดง พร้อมพบปะและเจรจาธุรกิจ  Business Matching  กับผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากทั่วโลก พร้อมสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใ จ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาห า รของไทย ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผนึกกำลังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ Bangkok RHVAC และ Bangkok E&E 2017 ชูศักยภาพไทยในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลก

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Bangkok RHVAC) และงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Bangkok E&E) ปี 2560 ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้การจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงศักยภาพของทั้งสองอุตสาหกรรมของไทย ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล และในด้านนวัตกรรมสินค้าที่สอดรับกับบริบทโลกในปัจจุบัน      “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในกลุ่มสินค้าดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกในการผลิตและส่งออก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ซึ่งใช้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีขนาดของข้อมูลจากผู้ใช้ทั่วโลกขยายใหญ่ขึ้นมากทุกปี นอกจาก...